Blog thumbnail

ปุ๋ยหมักคืออะไร? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าทิ้งไว้นานเกินไป? เราสามารถทำอะไรกับปุ๋ยหมักที่เหลือได้บ้าง? ขายมันได้ไหม? ใช้แทนดินได้หรือเปล่า?

Blog thumbnail in

การทำปุ๋ยหมักเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เปลี่ยนเศษอาหาร เศษขยะในสวน และวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ให้กลายเป็นสารปรับปรุงดินที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการลดขยะ เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเครื่องมือที่ทรงพลังในการเพาะปลูกพืชที่มีสุขภาพดี 

แต่ถึงแม้ผู้ที่ชื่นชอบการทำปุ๋ยหมักมากที่สุดก็อาจเจอคำถามเหล่านี้ได้ เช่น จะเกิดอะไรขึ้นกับปุ๋ยหมักถ้ามัน “เก่า” เกินไป? จะทำอย่างไรกับปุ๋ยหมักที่มีมันเยอะเกินไป? เราสามารถขายปุ๋ยหมักที่ทำเองได้หรือไม่? 

ในบทความนี้เราจะมาดูปัญหาเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักเหล่านี้และช่วยให้คุณจัดการปุ๋ยหมักได้อย่างมืออาชีพ! เรารวบรวมคำตอบของคำถามที่คุณอาจจะสงสัยทั้งหมดมาไว้ที่นี่แล้ว ตั้งแต่พื้นฐานของเครื่องย่อยเศษขยะอาหาร ไปจนถึงวิธีการนำปุ๋ยหมักที่เหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

มาเริ่มกันเลย!

ปุ๋ยหมักคืออะไร?

ปุ๋ยหมักคือสิ่งที่ได้จากการนำเอาขยะอินทรีย์ต่างๆ มาหมักในสถานที่ที่มีการควบคุม (ไม่ว่าจะเป็นการหมักแบบดั้งเดิม หรือในเครื่องย่อยขยะเศษอาหารก็ตาม)

เศษอาหารเหลือจากการทำครัว เศษใบไม้จากการทำสวน และเศษขยะอินทรีย์ต่างๆ จะถูกย่อยสลายโดยผ่านกระบวนการการทำงานของจุลินทรีย์ เชื้อรา และแมลง เปลี่ยนเป็นสารปรับปรุงดินที่มีลักษณะเป็นดินสีเข้ม มีเนื้อร่วน และอุดมไปด้วยสารอาหาร 

ปุ๋ยหมักช่วยปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน การระบายอากาศ และการระบายน้ำ จึงนำไปสู่พืชที่แข็งแรงและสวนที่งอกงาม

เครื่องย่อยเศษขยะอาหารคืออะไร?

เครื่องย่อยเศษขยะอาหารเป็นเครื่องครัวที่เร่งกระบวนการทำปุ๋ยหมักตามธรรมชาติ ตัวเครื่องจะจำลองสภาวะที่เหมาะสมให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เติบโต ทำให้เศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักที่อุดมไปด้วยสารอาหารในเวลาที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการทำปุ๋ยหมักแบบดั้งเดิม 

หมายเหตุ: เครื่องย่อยเศษขยะอาหารไม่เหมือนกับเครื่องกำจัดขยะอาหารแบบใช้ความร้อนอบแห้ง! เพราะเครื่องกำจัดขยะอาหารแบบใช้ความร้อนอบแห้งเพียงแค่ขจัดความชื้นออกจากเศษอาหาร ส่งผลให้ได้เศษอาหารแห้งที่ยังต้องการการย่อยสลายต่อไป ในขณะที่เครื่องย่อยเศษขยะอาหารสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก เปลี่ยนเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยหมักได้ทันที

Organic food wastes in a bucket, shot from above. Zero waste, recycle, waste sorting concept - top view of peels and leftovers of fruit and vegetables

จะเกิดอะไรขึ้นกับปุ๋ยหมักถ้าทิ้งไว้นานเกินไป?

ไม่ต้องกังวลไป ปุ๋ยหมักของคุณจะไม่ “เสีย” หรือใช้งานไม่ได้หากทิ้งไว้นาน แต่ก็มีบางอย่างที่ควรพิจารณา:

  • การสูญเสียสารอาหาร: เมื่อเวลาผ่านไป สารอาหารที่มีในปุ๋ยหมักอาจสลายตัวเพิ่มเติมและกลายเป็นสิ่งที่พืชดูดซึมได้ยากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปุ๋ยหมักที่เราทำมาจะไร้ค่า แค่ความเข้มข้นของสารอาหารอาจลดลงเพียงเท่านั้น
  • ความสมบูรณ์: ปุ๋ยหมักที่ “บ่ม” ไว้ระยะเวลาหนึ่งเป็นเพื่อนที่ดีของนักปลูกต้นไม้เลยก็ว่าได้ ปุ๋ยหมักที่มีอายุมากจะมีความเสถียรมากขึ้นและมีเนื้อละเอียดกว่า ทำให้เหมาะสำหรับการปลูกโดยตรงหรือใช้เป็นการคลุมหน้าดิน
  • ระดับความชื้น: กองปุ๋ยหมักที่ถูกละเลยเป็นเวลานานอาจแห้งเกินไป เพื่อให้ปุ๋ยหมักของเรากลับมาใช้งานได้อีกครั้ง แค่เติมน้ำและคนให้ความชื้นกระจายอย่างทั่วถึงก็เป็นอันใช้ได้ (แต่หากท่านใดใช้งานเครื่องย่อยเศษขยะอาหาร ไม่ควรเติมน้ำลงไปในเครื่อง เราสามารถเติมได้ก็ต่อเมื่อปุ๋ยอยู่ข้างนอก หรือวิธีการทำปุ๋ยแบบเดิมเท่านั้น)

เราสามารถทำอะไรกับปุ๋ยหมักที่เหลือได้บ้าง?

เป็นเรื่องปกติที่เราจะมีปุ๋ยมากเกินความจำเป็น แล้วถ้าเราทำเหลือ เราสามารถทำอะไรกับปุ๋ยหมักเหล่านั้นได้บ้าง ลองมาดูกัน 

  • แบ่งปันให้กับเพื่อนหรือครอบครัว: ลองแบ่งปันปุ๋ยดูสิ สำหรับคนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้อยู่แล้ว นี่ถือว่าเป็นของขวัญที่ดีเลยว่าไหม?
  • สวนชุมชน: หลายๆ ชุมชนจะมีสวนส่วนกลางที่เปิดรับบริจาคปุ๋ยอยู่ ถ้าอย่างคอนโดยุคใหม่ก็จะมีส่วนที่นิติฯ จะปลูกผักไว้แบ่งปันลูกบ้านเหมือนกัน
  • ฟาร์มหรือสถานเพาะชำในท้องถิ่น: บางฟาร์มหรือสถานเพาะชำในท้องถิ่นอาจยินดีรับปุ๋ยหมักที่เหลือ โดยเฉพาะถ้าปุ๋ยหมักนั้นมีคุณภาพสูง

เราสามารถขายปุ๋ยหมักของเราได้ไหม?  

หากใครกำลังมีความคิดว่าอยากจะหมักปุ๋ยขาย บอกเลยว่าก็เป็นความคิดที่เข้าท่ามากเลยทีเดียว แต่เราก็ต้องเบรกไว้ก่อน เพราะก่อนอื่นเราต้องมาศึกษาข้อกฎหมายกันก่อน

  • ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่: หากเราขายปุ๋ยของเราให้กับเพื่อนๆ หรือป้าข้างบ้านก็อาจจะไม่ต้องกังวลมาก แต่ถ้าเราจะขยายสเกลธุรกิจ เราอาจจะต้องมีใบรับรองจากทางรัฐก่อน
  • กฎหมายกับการขายปุ๋ย: หากคุณวางแผนที่จะขายปุ๋ยหมักในสเกลที่ใหญ่ขึ้น เราอาจต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเฉพาะในพื้นที่ของคุณ ซึ่งอาจรวมถึงการขอใบอนุญาต การทดสอบปุ๋ยหมักเพื่อวัดคุณภาพและสารปนเปื้อนที่อาจมีอยู่ และการบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม 

ก่อนที่จะเริ่มต้นการธุรกิจขายปุ๋ยหมัก เราแนะนำว่าให้ศึกษาข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าเราปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายทั้งหมด

ปุ๋ยหมักใช้แทนดินได้ไหม? 

ปุ๋ยหมักเป็นสารที่ใช้ปรับปรุงดินได้ดีก็จริง แต่เราจะสามารถใช้มันเป็นดินในการปลูกได้เลยไหม? ลองมาดูกัน:

  • ความสมดุลของสารอาหาร: แม้ว่าปุ๋ยหมักจะอุดมไปด้วยสารอาหาร แต่ก็อาจไม่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นทั้งหมดในสัดส่วนที่พืชต้องการ
  • การระบายน้ำ: ปุ๋ยหมักมีความหนาแน่นมาก เมื่อนำปุ๋ยหมักผสมกับดินปลูกหรือวัสดุอื่น ๆ จะช่วยให้ระบายน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้พืชเจริญงอกงามได้อย่างเหมาะสม วิธีที่ดีที่สุดคือการผสมปุ๋ยหมักกับดินที่มีอยู่ (หรือดินปลูก) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการปลูกที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสมดุลสำหรับพืชของเรา

Girl helping parents to put kitchen waste, peel and leftover vegetables scraps into kitchen compostable waste. Concept of composting kitchen biodegradable waste.

เคล็ดไม่ลับเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย

ถ้าคุณเป็นคนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ และกำลังใช้ปุ๋ยหมักแบบดั้งเดิมอยู่ คุณก็อาจจะทราบดีว่ามันจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนให้ได้ปุ๋ยมาใช้ซักครั้ง และถ้าใครไม่มีประสบการณ์ในการทำ และทำปุ๋ยอย่างไม่ถูกต้อง เราก็จะได้มาแค่กองขยะอาหารที่เน่าเสีย ส่งกลิ่นคละคลุ้ง แถมยังดึงดูดพวกแมลงต่างๆ เข้ามาอีก ไม่เพียงเท่านั้น กองขยะนั้นก็จะสร้างก๊าซมีเทนซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

และนี่คือเคล็ดไม่ลับที่เราอยากจะนำมาฝากในวันนี้:

  • บาลานซ์ส่วนผสมให้ดี: พยายามให้มีสัดส่วนระหว่างวัสดุสีน้ำตาล (เช่น ใบไม้แห้งและกิ่งไม้) และวัสดุสีเขียว (เช่น เศษอาหารในครัวและหญ้าตัดใหม่) ให้พอๆ กันเพื่อการย่อยสลายที่ดีที่สุด
  • รักษาระดับความชื้น: รักษากองปุ๋ยหมักของคุณให้ชื้นเล็กน้อย แต่ไม่ใช่แฉะนะ
  • กลับกองปุ๋ยหมักเป็นประจำ: การพลิกกองปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มการระบายอากาศและเร่งกระบวนการย่อยสลาย (ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำเครื่องย่อยเศษขยะอาหารนั้นตอบโจทย์คนรักต้นไม้เป็นอย่างมาก)
  • พิจารณาใช้สารเร่งการย่อยสลาย: ผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถช่วยเร่งการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ได้เร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงวัสดุที่มีปัญหา: วัสดุบางอย่าง เช่น เนื้อสัตว์ นม และน้ำมัน สามารถดึงดูดศัตรูพืชและสร้างกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นเราไม่ควรใส่ของพวกนี้เข้าไปในปุ๋ยหมักของเราเลย

หากใครไม่มีเวลามากพอที่จะเรียนรู้กระบวนการผ่านการลองผิดลองถูก หรือไม่มีพื้นที่เปิดกว้างเพียงพอสำหรับการทำปุ๋ยหมักแบบดั้งเดิม เราขอแนะนำให้คุณลองใช้เครื่องย่อยขยะเศษอาหาร เพราะ:

  • ผลิตปุ๋ยได้เร็วกว่า
  • ไม่สร้างมลพิษ
  • ระบบอัตโนมัติทั้งหมด
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างต่ำ
  • ขนาดเล็ก ไม่กินพื้นที่
  • มีประสิทธิภาพสูง
  • กำจัดเชื้อโรคได้

สรุป

การหมักปุ๋ยเองเป็นวิธีการที่ง่ายแถมยังมีประสิทธิภาพสูงในการลดขยะเศษอาหาร มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ของเราได้ อย่าได้กังวลถ้าหากว่าเราเริ่มมีปุ๋ยหมักเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ไม่ทัน ลองแบ่งปันคนรอบๆ ตัวดู หรือถ้าหากมันเยอะมากๆ ดีไม่ดีเราอาจะได้เปิดธุรกิจขายปุ๋ยหมักธรรมชาติเลยก็เป็นได้

หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องเศษขยะอาหาร หรือหากคุณต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ติดต่อหา Hass Thailand ได้เลยวันนี้!

Shopping cart

0

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Enter your search & hit enter